Application for TOC
การหาปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเบียร์
การหาปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเบียร์
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนผสมที่สำคัญในเครื่องดื่มหลายๆประเภทรวมไปถึงเบียร์ด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวทำให้เกิดความซ่า ความสดชื่น และยังเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดฟอง
ปริมาณ CO2 ที่อยู่ในเบียร์จะส่งผลให้เกิดกลิ่นและความหอมที่หลากหลายและยังมีผลกับอายุ (Shelf life) ของเบียร์อีกด้วย
ในคู่มือ Central – European brewery technological analysis commission (MEBAK) ได้พูดถึงวิธีการหาค่า CO2 ไว้หลายวิธี ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้การ Manometric หรือ Titrimetric หรือวิธีที่ใช้ตัวตรวจจับแบบพิเศษ
ข้อเสียของวิธีเหล่านี้ก็คือมักจะไม่สามารถเลือกเฉพาะ CO2 ได้, มีค่าใช้จ่ายสูงในเรื่องของบุคคลและเวลา และไม่สามารถทำเป็นระบบอัตโนมัติได้ วิธีการที่จะทำได้โดยที่ไม่มีข้อเสียเหล่านี้ก็คือการใข้เครื่อง TOC Analyzer
Innovation methods
ในวิธีนี้น้ำตัวอย่าง (เบียร์) จะทำการใส่เบียร์ลงใน Vial ขนาด 40mL จากนั้นเติมสารละลาย NaOH 32% ปริมาณ 5mL ลงใน vial เพื่อเก็บรักษา CO2 ไว้ในรูปคาร์บอเนตอิออน
จากนั้นนำ vial ใส่ใน Autosampler แล้วทำการวัดค่า IC (Inorganic Carbon) ด้วยเครื่อง TOC Analyzer
ในเครื่อง TOC Analyzer น้ำตัวอย่างจะถูกฉีดเข้าไปในสารละลายกรดฟอสฟอริก 25% คาร์บอนเนตอิอนในน้ำตัวอย่างจะทำ
ปฏิกริยากับกรด เกิดเป็น CO2 จากนั้น CO2 ที่เกิดขึ้นจะถูกนำพาไปยัง NDIR detect เพื่อวัดปริมาณ CO2
ในการคำนวณผล ฟังก์ชั่น IC จะใช้น้ำยามาตรฐานโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ความเข้มข้น 100-1000 mg/l มาทำ Calibration Curve โดยสามารถทำ Calibration ในจุดต่างๆได้ตามความต้องการ (สูงสุด 10 จุด) ด้วยฟังก์ชั่น Automatic Dilution
ข้อดีของการวัด CO2 ด้วยเครื่อง TOC Analyzer
• สามารถวัดได้รวดเร็วด้วยระบบอัตโนมัติ
• มีความเที่ยงตรงและแม่นยำ
• วิธีการง่าย ไม่ยุ่งยาก
เปรียบเทียบผลการวัดค่า CO2 ด้วยวิธี TOC (สีฟ้า) และวิธี Corning (สีเขียว)